Cute Christmas Reindeer

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

ธรรมชาติและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย 
 วัยเด็กควรได้รับการอบรมเลี้ยงดูที่ควรให้ความสนใจและให้ความสำคัญ เป็นช่วงวัยที่สำคัญที่สุดในการวางรากฐานของชีวิตมนุษย์

ธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ➺ 1. ยึดตนเองเป็นศูนยกลาง
                                             2. เด็กแต่ละคนมีความสามารถแตกต่างกัน
                                             3. ต้องการเป็นที่ยอมรับ
                                             4. ช่วงความสนใจสั้น
                                             5. ชอบอิสระ

การเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ➺ 1. เรียนรู้จากประสบการณ์ทางตรง
                                                  -การพบเห็นได้ด้วยตนเอง สะสมเป็นประสบการณ์
                                              2. เรียนรู้จากประสบการณ์ทางอ้อม
                                                  -การเลียนแบบหรือได้รับฟังคำบอกเล่า
ธรรมชาติของการเรียนรู้ ➾ 1.มีสิ่งเร้า(สื่อ)มากระตุ้นผู้เรียน
                                            2.ผู้เรียนรับรู้สิ่งเร้า โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5
                                            3.ผู้เรียนสามารถเล่าเรื่อง และตอบโต้ได้
                                            4.ผู้เรียนมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งเร้าและสามารถเล่าเรื่องได้
                                            5.ผู้เรียนสังเกตผลที่เกิดขึ้น
การจำแนกลักษณะการเรียนรู้ของเด็ก ➾ ลักษณะที่ 1 การเรียนรู้โดยสัญชาตญาณ
                                                                 ลักษณะที่ 2 การเรียนรู้จากการช่วยเหลือของพ่อแม่
                                                                 ลักษณะที่ 3 การเรียนรู้จากเกมการศึกษา
รูปแบบการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ➽ 1. การเรียนรู้โดยใช้ความสามารถในการใช้สายตา 
                                                         2. การเรียนรู้โดยการได้ยินได้ฟัง
                                                         3. การเรียนรู้โดยการใช้ส่วนต่างๆ ของร่างกาย



ทักษะการเรียนรู้ของเด็ก
อายุ 2-3 ปี ⇨  ✸ ใช้คำง่ายๆ
                       ✸ รู้ขนาดใหญ่-เล็ก
                       ✸ เลียนแบบงานของผู้ใหญ่
                       ✸ สนใจอะไรในระยะสั้นๆ
                       ✸ จับคู่สิ่งของได้

อายุ 3-4 ปี ⇨  ✸ จับคู่สีเหมือนได้มากกว่า 3 สี
                       ✸ เปรียบเทียบขนาด เล็ก กลาง ใหญ่ได้
                       ✸ วาดภาพอย่างมีความหมาย
                       ✸ บอกชื่อ-นามสกุลได้
                       ✸ ชอบซักถามว่า "ทำไม"
                       ✸ เริ่มเข้าใจความหมายของเวลา
อายุ 4-5 ปี ⇨  ✸ พูดตามเป็นคำสัมผัส
                       ✸ มีช่วงความสนใจยาวขึ้น
                       ✸ จับคู่สิ่งของที่ใช้ด้วยกันได้
                       ✸ วาดภาพและบอกชื่อภาพได้
                       ✸ บอกชื่อสถานที่บ้านที่ตนเองอยู่ได้

อายุ 5-6 ปี ⇨  ✸ เล่าทวนเรื่องที่ได้ยินให้ฟังได้
                       ✸ จัดประเภทของสิ่งของที่มีคุณลักษณะต่างกันได้
                       ✸ มีความสนใจเพิ่มมากขึ้น อดทนเมื่ออยากรู้จริงๆ
                       ✸ รู้จักความหมายของการบอกเวลาได้ถูกต้อง

แนวคิดการเรียนรู้

→ ทฤษฎีของ Bloom ในระดับปฐมวัยแบ่งเป็น 3 ระดับ 1. ความจำ (Knowledge)
                                                                                     2. การประยุกต์ (Application)
                                                                                     3. ความเข้าใจ (Comprehend)

→ ทฤษฎีของ Mayor การออกแบบสื่อการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ส่วน
1. ชี้ชัดและสังเกตได้
2. มีเงื่อนไขในการช่วยเหลือ
3. อยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด

→ ทฤษฎีของ Bruner 1. ความรู้หล่อหลอมด้วยประสบการณ์
                                   2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
                                   3. ผู้เรียนสามารถบอกเล่าได้
                                   4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
                                   5. ผู้เรียนเลือเนื้อหาและกิจกรรมเอง
                         
→ ทฤษฎีของ Tylor    1. ความต่อเนื่อง (continuity)
                                    2. การจัดช่วงลำดับ (sequence)
                                    3. บูรณาการ (integration)
→ ทฤษฎีการเรียนรู้ 8 ขั้น ของกาเย่ (GAGNE) 
1. การจูงใจ (Motivation Phase)
2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase)
3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ ( Acquisition Phase)
4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
5. ความสามารถในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
6. การนำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ ( Performance Phase)
8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase)
พัฒนาการของเด็กปฐมวัย
ความหมายของพัฒนาการ
→ ความสามารถเด็กที่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเป็นขั้นตอนโดยมีอายุเป็นตัวกำกับ
ลักษณะของพัฒนาการ
              • พัฒนาการเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องกัน
              • การพัฒนาจะมีทิศทางของพัฒนาการที่แน่นอน
ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพัฒนาการเด็กปฐมวัย
  •         บุคคลภายในครอบครัว บุคคลภายในครอบครัว ประกอบด้วย พ่อแม่ ญาติพี่น้อง
  •         บุคคลภายนอกครอบครัว บุคคลภายนอกครอบครัว ประกอบด้วย ครู ผู้ดูแลเด็ก
  •         อาหารครบ 5 หมู่
  •         สติปัญญา
  •         โรคภัยไข้เจ็บ
คุณลักษณะตามวัยของเด็ก






การจัดกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
1. กิจกรรมที่จัดควรคำนึงถึงตัวเด็กเป็นสำคัญ
2. กิจกรรมที่จัดควรมีทั้งกิจกรรมที่ให้เด็กทำเป็นรายบุคคล กลุ่มย่อยและกลุ่มใหญ่
3. กิจกรรมที่จัดควรมีความสมดุล
4. ระยะเวลาในการจัดกิจกรรมควรเหมาะสมกับวัย
5. กิจกรรมที่จัดควรเน้นให้มีสื่อของจริงให้เด็กได้มีโอกาสสังเกต

ลักษณะการจัดกิจกรรมผ่านการเล่น
  •         กิจกรรมเสรี เปิดโอกาสให้เด็กได้เล่นตามมุม
  •         กิจกรรมสร้างสรรค์ ให้เด็กได้แสดงความรู้สึก ความคิดสร้างสรรค์ผ่านศิลปะ
  •         กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
  •         กิจกรรมเสริมประสบการณ์ มุ่งเน้นทักษะกรเรียนรู้ฝึกการทำงานร่วมกัน กิจกรรมที่มีโอกาสให้เด็กได้ฝึกคิด พูด สังเกต ฟัง แก้ปัญหาโดยใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติ
  •         กิจกรรมกลางแจ้ง เด็กได้ออกกำลังกายได้เคลื่อนไหวร่างกายและแสดงออกย่างอิสระ
  •         เกมการศึกษา ช่วยพัฒนาสติปัญญา มีกฎเกณฑ์กติกา
การจัดกิจกรรมการเล่นสำหรับเด็กปฐมวัย

      - พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 0 – 1 ปี เด็กจะเริ่มพัฒนาประสาทสัมผัสการมองเห็นและได้ยิน ของเล่นที่สดใสที่แกว่งไกวแล้วมีเสียงกรุ๋งกริ๋งช่วยให้เด็กกรอกสายตา ฝึกการมองเห็นและการฟังได้สังเกตความเคลื่อนไหว
      - พฤติกรรมการเล่นของเด็กวัย 1 - 2 ปี เด็กวัยนี้เริ่มเดินได้เองบ้าง ชอบเกาะเครื่องเรือนเดินจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ฝึกการเคลื่อนไหวกล้ามเนื้อต่าง ๆ
      - กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กวัย 2 - 4 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการสังเกต เลียนแบบและชอบซักถาม
      - กิจกรรมการเล่นและของเล่นสำหรับเด็กวัย 4 - 6 ปี เด็กวัยนี้จะเรียนรู้จากการใช้ภาษาสื่อความหมายความเข้าใจกับผู้อื่น และการใช้เหตุผลในการทำความเข้าใจกับสิ่งต่างๆ


การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่สนใจสิ่งต่างๆรอบตัว อยากรู้อยากเห็นอยู่ตลอด กิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ที่จะจัดให้กับเด็กปฐมวัยจึงมีความสำคัญมาก และควรที่จะคำนึงถึงพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย โดยที่ไม่ควรไปเร่งรัดในตัวเด็กด้วย

การประเมินผล

ตนเอง: ตั้งใจเรียนในช่วงต้นๆคาบ หลังจากนั้นมีอาการเหม่อลอยบ้างเป็นบางครั้ง
เพื่อน: เพื่อนบางคนเผลอหลับ บางคนตั้งใจเรียน แต่ก็มีอาการเหม่อ
อาจารย์: อาจารย์สอนเนื้อหาเยอะเกินไป ทำให้นักศึกษาเกิดอาการเบื่อ





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17 วันพฤหัสบดีที่ 11  พฤษภาคม พ.ศ.2560 ความรู้ที่ได้รับ ในวันนี้ได้นำสื่อที่ได้จัดทำขึ้นมาตลอดเทอมนำไปจัด...