Cute Christmas Reindeer

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

ในวันนี้ได้นำสื่อที่ได้จัดทำขึ้นมาตลอดเทอมนำไปจัดนิทรรศการสื่อที่โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

บรรยากาศระหว่างการจัดนิทรรศการสื่อ




จัดเสร็จเรียบร้อยแล้วจ้า







ผลงานการจัดบอร์ด




ผลงานของฉัน
สื่อการสอนหน่วยการเรียนรู้เรื่อง ระบบสุริยะ ⭐
ผลงานของเพื่อน

อาจารย์อธิบายสื่อการสอนของเพื่อน


จบคอร์สแล้วจ้า


ขอขอบคุณอาจารย์ที่ให้ความรู้กับหนูมาตลอดทั้งเทอมนะคะ 😊



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 16

วันอังคารที่ 25 เมษายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

นำเสนอสื่อ 2 ชิ้นที่ได้แนวคิดมาจากเพจ  拼學趣  โดยอธิบายอุปกรณ์ที่ใช้ วิธีการเล่นหรือสามารถนำไปเป็นสื่อการสอนได้อย่างไร



ชิ้นที่ 1 ปลาเล็กกินปลาใหญ่

เป็นการสอนเด็กเรื่องสัตว์น้ำ ปลาใหญ่จะกินปลาเล็กเพื่อให้ตนเองดำรงชีพได้หรือจะนำไปประกอบการเล่านิทานก็ได้

ชิ้นที่ 2 ต้นตริสมาสต์

เป็นการสอนเด็กเรื่องฤดูกาล โดยอาจารย์ให้คำแนะนำว่าสามารถทำเป็นฤดูกาลอื่นๆได้เพื่อให้เด็กได้เห็นภาพที่ชัดเจนขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นการฝึกการกล้ามเนื้อมือของเด็กจากการเขย่าให้เกิดหิมะรอบต้นคริสมาสต์อีกด้วย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สื่อทุกชนิดมีคุณค่าขึ้นอยู่กับผู้สอนจะสามารถนำไปประยุกต์กับการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กได้อย่างไรบ้าง

การประเมินผล

ตนเอง : รับฟังข้อเสนอแนะของผู้อื่น
เพื่อน : ให้ความสนใจกับเพื่อนที่ออกมานำเสนอสื่อหน้าชั้นเรียน
อาจารย์ : ให้คำแนะนำและช่วยอธิบายเพิ่มให้กับสื่อแต่ละชิ้น



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 15

วันอังคารที่ 18 เมษายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์ได้ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดบอร์ด แบบไหนที่ควรจัดและควรจัดในรูปแบบใด โดยอาจารย์ได้เปิดตัวอย่างของบอร์ดแบบต่างๆให้ดู

บอร์ดปฏิทินวันที่

บอร์ดสมาชิก

บอร์ดวันเกิด

ป้ายนิเทศก์

ธนาคารคำศัพท์

บอร์ดสภาพอากาศ

ตารางกิจวัตรประจำวัน

แผ่นชาร์ตเพลง


 โดยอาจารย์แบ่งงานให้แต่ละกลุ่มจัดดังนี้
 - ชาร์ตเพลง คู่ละ 1 เพลง  (งานคู่)
 - จัดบอร์ดงานกลุ่ม
กลุ่มที่ 1  กิจวัตรประจำวัน + สภาพอากาศ     (กลุ่ม 8 คน)
กลุ่มที่ 2  บอร์ดวันเกิด + บอร์ดสมาชิก          (กลุ่ม 7 คน)             
กลุ่มที่ 3  ป้ายนิเทศ + ธนาคารคำ                (กลุ่ม 8 คน) 

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สามารถนำเทคนิคการจัดบอร์ดที่อาจารย์ได้สอนมาไปปรับใช้กับการจัดบอร์ดของตัวเอง

การประเมินผล

ตนเอง : ร่วมคิดและออกแบบในการนำเสนอบอร์ดว่าควรจัดอย่างไหร่
เพื่อน :  เนื่องจากเป็นช่วงหลังสงกรานต์ เพื่อนจึงมาเรียนกันค่อนข้างน้อย
อาจารย์ : ให้วัสดุในการจัดบอร์ด และอธิบายบอร์ดแต่ละชนิดให้เข้าใจ



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 14

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

✤ เนื่องจากอาจารย์ติดภารกิจเมื่อวันอังคารที่ 4 มีนาคม 2560 อาจารย์จึงให้นำสื่อ 2 ชิ้นที่ได้ดูมาจากเว็บจีนมาส่งในวันนี้ ✤

สื่อของเพื่อนๆ

สื่อที่ประดิษฐ์มาคือปลาเล็กกินปลาใหญ่และต้นคริสมาสต์

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สื่อแต่ละชิ้นมีความหลากหลาย สามารถนำแนวคิดและเทคนิคไปประยุกต์ทำเป็นสื่อชิ้นใม่ขึ้นมาได้

การประเมินผล

ตนเอง : สนใจในชิ้นงานของเพื่อน แล้วถามถึงวิธีการประดิษฐ์ชิ้นงานของเพื่อนที่น่าสนใจ
เพื่อน : ออกแบบผลงานได้อย่างสร้างสรรค์และน่าสนใจ
อาจารย์ : แนะนำเกี่ยวกับสื่อบางชิ้นของเพื่อน



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 13

วันอังคารที่ 28 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

เกมการศึกษามีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ได้แก่ 1. เกมจับคู่  2. เกมจัดหมวดหมู่  3.เกมภาพตัดต่อ  4.เกมเรียงลำดับภาพต่อเนื่อง  5. เกมโดมิโน  6. เกมตารางรางสัมพันธ์  7. เกมพื้นฐานทางคณิตศาสตร์  8. เกมมลอตโต

    โดยอาจารย์นำผลงานของรุ่นพี่มาให้ดูรูปแบบและแนวคิดต่างๆในการทำเกมการศึกษา จากนั้นอาจารย์ให้จับกลุ่ม 4 กลุ่ม กลุ่มละ 5 - 6 คน ทำเกมการศึกษา โดยแบ่งทำเกมการศึกษา 5 แบบคือ เกมจับคู่ภาพเหมือน เกมจับคู่ภาพเงา เกมจัดหมวดหมู่ เกมภาพตัดต่อ และเกมลอตโต


                                          



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

เกมการศึกษาเป็นเกมที่พัฒนาด้านสติปัญญาให้กับเด็ก เด็กจะได้สัมผัสของจริงที่เป็นรูปธรรมมากกว่าการทำเป็นแบบฝึกหัด ได้หยิบจับพัฒนากล้ามเนื้อมือ

การประเมินผล

ตนเอง : เรียนไม่ค่อยประติดประต่อ เพราะเดินออกจากห้องค่อนข้างบ่อย
เพื่อน : นำสื่อแต่ละชิ้นของรุ่นพี่มาวิเคราะห์ว่าเป็นประเภทไหน เล่นอย่างไร
อาจารย์ : นำสื่อของรุ่นพี่ปีที่แล้วมาเป็นตัวอย่างให้ดู ทำให้เข้าใจและมองเห็นภาพมากยิ่งขึ้น






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 12

วันอังคารที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

อ้างอิงมาจากเพจ 拼學趣  โดยในเพจนี้จะมีสื่อของเล่นมากมาย สามารถนำมาเป็นสื่อการสอนในหน่วยต่างๆได้ นอกจากนี้ยังสอนเทคนิคในการประดิษฐ์สื่อชิ้นนั้นๆด้วย

สื่อชิ้นที่ 1


เป็นสื่อที่สามารถสอนเรื่องสัตว์น้ำได้ เป็นวัฏจักรที่ปลาใหญ่จะต้องกินปลาเล็ก ซึ่งอุปกรณ์มีดังนี้
1.ไม้หนีบผ้า
2.การดาษแข็งสีน้ำเงินกับขาว
3.กระดาษอ่อนสีส้ม
4.ไม้จิ้มฟัน
5.ลูกตาดุ๊กดิ๊ก
6.ปืนกาว

ขั้นตอนการทำ  1.ตัดกระดาษสีน้ำเงินและขาวออกมาให้มีลักษณะคล้ายปลา
                        2. ตัดกระดาษสีส้มให้ออกมาในลักษณะเป็นปลาตัวเล็ก
                        3. ตัดไม้จิ้มฟัน 1ใน4 แล้วใช้กาวติดกับปลาตัวเล็ก
                        4. ใช้ปืนกาวยิงส่วนตรงไม้จิ้มฟันกับปลาตัวใหญ่และยิงให้ไม้หนีบผ้าติดกับตัวปลา
                        5. รอให้กาวแห้ง เป็นอันเสร็จ

สื่อชิ้นที่ 2


เป็นสื่อที่สามารถสอนเรื่องฤดูได้ เมื่อเขย่าจะคล้ายๆกับหิมะตกในวันคริสมาสต์ ฝึกในเรื่องของกล้ามเนื้อของเด็กได้ด้วย โดยมีอุปกรณ์ดังนี้
1.แก้วน้ำใส
2.เม็ดโฟมเม็ดเล็ก
3.กระดาษอ่อนสีเขียว
4.กากเพชรสีน้ำเงิน
5. กระดาษแข็งสีขาว
6.กาว

ขั้นตอนการทำ  1.พับกระดาษให้เป็นรูปต้นคริสมาสต์
                        2. ตัดกระดาษแข็งสีขาวให้เป็นวงกลมเท่ากับขนาดของปากแก้ว
                        3. นำต้นคริสมาสต์ที่พับไว้ติดกาวเข้ากับกระดาษแข็งสีขาว
                        4. ใส่เม็ดโฟมและกากเพชรลงไปในแก้ว
                        5. คว่ำแก้วแล้วทากาวปิดให้สนิท เป็นอันเสร็จ


                                                     

วิดีโอการสอนพับต้ยคริสมาสต์

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สามารถนำไอเดียร์จากเพจนี้มาสร้างสื่อได้อีกมากมาย เพียงแค่เรารู้เทคนิค นอกจากนี้ยังมีเพจอื่นๆที่น่าสนใจอีกมากมาย

การประเมินผล

ตนเอง : สนใจวิดีโอที่อาจารย์นำมาให้ดู และได้ไอเดียร์ใหม่ๆ มีความแปลกตากับสื่อบางชิ้น
เพื่อน : ให้ความสนใจกับวิดีโอ จนลืมให้ความสนใจกับงานชิ้นก่อนๆที่อาจารย์สั่งให้ทำ
อาจารย์ : แนะนำเพจดีๆให้กับลูกศิษย์ และให้คำแนะนำเกี่ยวกับอุปกรณ์หรือเทคนิคบางคลิปวิดีโอที่ภายในคลิปอธิบายไว้ไม่ชัดเจน




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

อาจารย์ได้มีการสอนทำดอกไม้เขย่า เป็นเครื่องเคาะจังหวะ เมื่อเขย่าจะมีเสียง สามารถนำไปใช้สอนเด็กในการจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวและจังหวะได้

                                            






หลังจากได้เรียนรู้วิธีการทำดอกไม้เขย่าแล้ว ยังมีสื่ออีกหนึ่งชิ้นคือ ดาวตกแต่งห้อง





การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การดอกไม้เขย่าสามารถออกแบบตัวใบได้ตามใจชอบ หรือจะเอาไปประยุกต์เพื่อสร้างสรรค์เป็นดอกไม้ไว้ประดับบอร์ดก็ได้ รวมถึงการทำดาวไว้สำหรับตกแต่งห้องเรียนได้

               Flores Mais:               Снежинка из шести квадратиков бумаги, каждый размером 9х9 см:

ตัวอย่างการนำความรู้ที่ได้เรียนมาไปดัดแปลงให้อยู่ในรูปแบบอื่นตามความคิดสร้างสรรค์

การประเมินผล

ตนเอง : ยังทำงานค่อนข้างช้าทำให้ต้องมีฃานค้างคากลับไปทำที่บ้าน
เพื่อน : สร้างสรรค์ผลงานได้อย่างสวยงาม
อาจารย์ : อธิบายแต่ละขั้นตอนได้อย่างระเอียดถี่ถ้วน



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 10

วันพฤหัสบดีที่ 9 มีนาคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

✪ หมายเหตุ เรียนชดเชยของวันอังคารที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2560 ✪

ทำสื่อกลุ่มชิ้นเก่าที่ทำค้างคาเมื่อวันอังคารที่ 7 มีนาคม 2560

ชินจังแปรงฟัน

เอ้า ฮุย เล ฮุย !



การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สามารถนำเทคนิคในการทำไปประดิษฐ์เป็นสื่อชิ้นอื่นได้ และสามารถไปประกอบการเล่านิทานได้

การประเมินผล

ตนเอง : ช่วยเพื่อนในกลุ่มทำงานอย่างเต็มที่
เพื่อน : เพื่อนทุกกลุ่มตั้งใจกันอย่างเต็มที่
อาจารย์ : ให้เทคนิคในการประดิษฐ์สื่อ เมื่อเกิดข้อสงสัย อาจารย์ก็ให้คำแนะนำได้เป็นอย่างดี


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17 วันพฤหัสบดีที่ 11  พฤษภาคม พ.ศ.2560 ความรู้ที่ได้รับ ในวันนี้ได้นำสื่อที่ได้จัดทำขึ้นมาตลอดเทอมนำไปจัด...