Cute Christmas Reindeer

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 7

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้ได้ไปศึกษาดูงานที่ศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ราชดำเนิน โดยอาจารย์ให้ไปดูสื่อเกี่ยวเด็กปฐมวัยที่อยู่หลายแบบด้วยกัน รวมทั้งที่นี่ยังมีสื่อเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และอื่นๆอีกมากมาย โดยการเดินทางเริ่มต้นจากนั่งรถเมล์ไปขึ้น MRT สถานีรัชดาภิเษกลงที่สถานีเพชรบุรี ต่อด้วยนั่งเรือลงคลองแสนแสบไปขึ้นที่สะพานผ่านฟ้าก่อนจะถึงศึกษาภัณฑ์พาณิชย์ราชดำเนิน









การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

สื่อบางชนิดสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการทำสื่ออื่นๆได้ นำไอเดียร์ของสื่อมาปรับใช้เป็นของตนเอง

การประเมินผล

ตนเอง : รู้สึกสนุกสนานกับการได้ออกนอกสถานที่ ทำให้ได้เห็นสิ่งต่างๆมากมายที่มีมากกว่าในห้องเรียน
เพื่อน : สนุกกับการได้เดินดูสื่อ บางคนก็ซื้อกลับไปด้วย
อาจารย์ : ให้ความดูแลเป็นอย่างดี ให้คำแนะนำอยู่ตลอด




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันอังคารที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ


นำเสนอบทความเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยเรื่อง ของเล่นกับการเลือกอาชีพในอนาคต
โดยส่วนใหญ่พ่อแม่จะเลือกของเล่นที่บ่งบอกเพศของลูก เช่น ของเล่นทำอาหารต้องเด็กผู้หญิง ของเล่นก่อสร้างต้องเด็กผู้ชาย ทำให้เด็กไม่ได้มีโอกาสที่จะได้เลือกของเล่นด้วยตนเอง ส่งผลถึงการเลือกอาชีพในอนาคต บางอาชีพมีแต่ผู้หญิงทำ ซึ่งบางทีผู้ชายก็อยากจะทำอาชีพนี้ แต่ด้วยความที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อนและพ่อแม่ไม่สนับสนุน เลยหมดโอกาสที่จะทำอาชีพนี้ไป



นำเสนอสื่อที่เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย โดยออกมานำเสนอทีละกลุ่มว่าเพราะอะไรถึงเลือกสื่อชิ้นนี้ให้เหมาะสมสำหรับเด็กปฐมวัย บอกข้อดีและข้อจำกัดของสื่อชิ้นนี้





ประดิษฐ์การ์ดในวันวาเลนไทน์เป็นรูปดอกไม้ป๊อบอัพ






การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

รู้วิธีการเลือกสื่อที่เหมาะสมกับวัยของเด็กและการประดิษฐ์ดอกไม้ไปประยุกต์ใช้กับเทศกาลอื่นได้

การประเมินผล

ตนเอง : เกิดความสนุกสนานในการได้ร่วมประดิษฐ์กับเพื่อน และตั้งใจทำออกมาให้ดี
เพื่อน : มีไอเดียร์การทำการ์ดออกมาได้น่าสนใจ ตั้งใจประดิษฐ์กันอย่างเต็มที่
อาจารย์ : เปิดคลิปวิดีโอในการอธิบาย เมื่อมีข้อสงสัย อาจารย์ก็จะช่วยเหลือจนสามารถทำออกมาได้สำเร็จ









บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 5

วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ



วิเคราะห์สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

ชื่อของสื่อ : เครื่องเคาะจังหวะ เป็นสื่อประเภทเครื่องดนตรี
เหมาะสำหรับเด็กอายุ 3 ปีขึ้นไป
ประโยชน์ของสื่อต่อพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน
➤ ด้านร่างกาย - กล้ามเนื้อมือ นำไปบูรณาการกับเครื่องไหวและจังหวะ
➤ ด้านอารมณ์ - เกิดความสนุกสนานกับการเขย่าเครื่องเคาะจังหวะ
➤ ด้านสังคม - นำมาเล่นร่วมกับเครื่องดนตรีของเพื่อนได้
➤ ด้านสติปัญญา - เรียนรู้ถึงเสียง การฟังจังหวะ

 สื่อชิ้นนี้สามารถนำไปจัดประสบการณ์เคลื่อนไหวและจังหวะได้ ✪

กระบวนการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้

                 การเล่นในขั้นที่เด็กสามารถเข้าไปเล่นรวมกลุ่มกับผู้อื่นได้ โดยเริ่มจากกลุ่มเล็กๆไปสู่การเล่นกับเพื่อนเป็นกลุ่มใหญ่ และมีพฤติกรรมอย่างง่ายๆ ครูสามารถพัฒนาและจัดการเล่นในลักษณะที่สูงขึ้นได้โดยการให้เด็กเล่นเกมชนิดต่างๆ

เกม (Games)

เกมเป็นเครื่องจูงใจให้เด็กเรียนรู้อย่างสนุกสนาน ไม่มุ่งเน้นการแข่งขันหรือการหาผู้ชนะ

เกมการเล่น

  1. เกมช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางกาย
  2. เกมช่วยพัฒนาทักษะกลไกในการเคลื่อนไหว
  3. เกมช่วยสนับสนุนให้เด็กมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
  4. เกมช่วยในการปรับตัวทางสังคม
  5. เกมช่วยพัฒนาการด้านการรับรู้ การคิด การแก้ปัญหา และการตัดสินใจ


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมการศึกษาเล่นเป็นกลุ่ม
                         

เกมการศึกษา (Didactic of Cognitive Game)

เป็นกิจกรรมที่ช่วยให้เด็กเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียนมีการสังเกตและคิดหาเหตุผลที่ดี ซึ่งทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาทักษะต่างๆ และมีกฎเกณฑ์หรือกติกากำหนดไว้ เน้นการพัฒนาด้านสติปัญญา

ประเภทของเกมการศึกษา 

1. เกมจับคู่             ✦ สิ่งที่เหมือนกัน                            ✦ สิ่งที่สัมพันธ์กัน
                             ✦ สิ่งที่เป็นของประเภทเดียวกัน       ✦ สิ่งที่ขาดหายไป

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมการจับคู่ อนุบาล

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมการจับคู่ อนุบาล






   
2. เกมภาพตัดต่อ

                                      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมภาพตัดต่ออนุบาล

                                      รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

3.เกมการวางภาพต่อปลาย (โดมิโน)

                                       ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมภาพตัดต่ออนุบาล

                                       ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมภาพตัดต่ออนุบาล

4. เกมการเรียงลำดับ เป็นภาพสิ่งของ เรื่องราว เหตุการณ์ตั้งแต่ 3 ภาพขึ้นไป

                                      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมเรียงลําดับเหตุการณ์ อนุบาล

                                        รูปภาพที่เกี่ยวข้อง
5. เกมจัดหมวดหมู่ ภาพสิ่งต่างๆที่นำมาจัดเป็นพวกๆตามความคิดของเด็กที่มีจำนวนตั้งแต่ 4 ชิ้นขึ้นไป

                                        ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมจัดหมวดหมู่ ปฐมวัย

6. เกมหาความสัมพันธ์ระหว่างภาพกับสัญลักษณ์

                                               ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมหาความสัมพันธ์ภาพกับสัญลักษณ์ ปฐมวัย

7. เกมหาภาพที่มีความสัมพันธ์ตามลำดับที่กำหนด

                                           ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ อนุกรม ปฐมวัย

8. เกมสังเกตรายละเอียดของภาพ (ลอตโต)

                                                  ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมลอตโต ปฐมวัย

9. เกมหาความสัมพันธ์แบบอุปมาอุปไมย

                                                   ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมการจับคู่ อนุบาล

10. เกมพื้นฐานการบวก

                                      ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เกมพื้นฐานการบวก อนุบาล

11.เกมจับคู่แบบตารางสัมพันธ์ (เมตริกเกม)

                                     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ เมตริกเกม อนุบาล


ลักษณะที่ดีของเกมการศึกษา
  1. เป็นเกมง่ายๆ ไม่ซับซ้อน
  2. มีคำสั่งและกติกาในการเล่นที่ชัดเจน
  3. เป็นเกมสั้นๆ ไม่ควรใช้เวลาเกิน 15 นาที
  4. เป็นเกมที่ไม่เกิดความกังวลเกี่ยวกับผู้ชนะ
  5. ควรใช้อุปกรณ์ที่สามารถประดิษฐ์ขึ้นเองได้ง่ายๆ
ประโยชน์ของเกมการศึกษา

เกมการศึกษาช่วยให้เด็กเรียนรู้ได้ดีและสามารถจดจำได้ยาวนาน ช่วยให้เด็กมีความสามารถในการแก้ปัญหา และมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รวมถึงได้รับความสนุกสนานอีกด้วย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การได้รู้ประเภทของเกมการศึกษา สามารถนำไปจัดให้เหมาะสมกับวัยของเด็กได้


การประเมินผล

ตนเอง : ให้ความสนใจกับเพื่อนที่นำเสนอสื่อ และวิเคราะห์ตามเพื่อนไปด้วย
เพื่อน : ตั้งใจเรียนและให้ความสนใจกับเพื่อนที่ออกมานำเสนอสื่อ
อาจารย์ : อธิบายเนื้อหาได้อย่างชัดเจน




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 31 มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

สื่อ การเล่นเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย

      สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆที่อยู่รอบๆตัวเด็ก และเมื่อเด็กได้พบเห็นหรือจับต้องก็จะทำให้เกิดการเรียนรู้ ทั้งช่วยพัฒนาการทั้ง 4 ด้าน

ลักษณะของสื่อแบ่งเป็น 3 ประเภท
1.สื่อการสอนประเภทวัสดุ - วัสดุการสอนที่ครูจัดทำหรือจัดหามา
                                       - วัสดุการสอนที่มีผู้จัดทำจำหน่าย เช่น สิ่งพิมพ์ เทปเสียง เป็นต้น
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์ - เครื่องเสียง
                                             - อุปกรณ์ประกอบเครื่องฉาย
                                             - อุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวกับการใช้เสียงหรือให้ภาพ
3.สื่อการสอนประเภทวิธีการ - การทดลอง   - เกม    - กิจกรรมอิสระ    - ทัศนศึกษา
- การแสดงบทบาทสมมติ   - การจำลองสถานการณ์   - กิจกรรมที่จัดขึ้นตามโครงการ
- การฝึกปฏิบัติจริงหลังการสนทนาเนื้อหา

ความสำคัญของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
- สื่อเป็นหัวใจสำคัญของการเตรียมความพร้อมให้กับเด็ก
- สื่อช่วยให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม และเกิดมโนทัศน์
- เป็นสิ่งเร้าให้เด็กเกิดความสนใจ และจดจำได้ไม่ลืม
- ช่วยให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กดีขึ้น
- ช่วยพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ในด้านต่างๆ

ลักษณะของสื่อการสอนระดับปฐมวัย
- สอดคล้องกับพัฒนการของเด็ก
- ใช้ประสาทสัมผัสได้มากและหลายส่วน
- มีลักษณะเป็นมิติ

การจัดระบบสื่อเพื่อส่งเสริมพัฒนาการเด็ก
1.การเลือกสื่อ - มีความปลอดภัย คำนึงถึงเป็นสิ่งแรก
                      - คำนึงถึงประโยชน์ ต้องกระตุ้นพัฒนาการ
                      - ความประหยัด
                      - ด้านประสิทธิภาพ ใช้ได้หลายโอกาส
2. วิธีการเลือกสื่อ - ตรงกับจุดมุ่งหมาย
                           - เหมาะสมกับวัย
                           - มีวิธีการใช้ที่ง่าย
                           - เด็กเข้าใจง่าย ไม่ซ้ำซ้อน

สื่อเพื่อการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย

- ของเล่นเด็ก        - เครื่องกีฬา       - เครื่องดนตรี

การเลือกของเล่นเพื่อความปลอดภัย

          เด็กจะใช้อวัยวะสัมผัสกับของเล่นอยู่ตลอด จึงจำเป็นต้องระมัดระวังในเรื่องของความปลอดภัยให้มาก ต้องพิจารณาจาก 
  1. วัสดุที่ใช้ผลิต
  2. ส่วนประกอบ
  3. โครงสร้าง
ความสำคัญของการเล่น
            เพียเจท์ ได้กล่าวเอาไว้ว่า การเล่นมีความสำคัญต่อการพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็ก เด็กสามารถแยกแยะสิ่งต่างๆจากสิ่งเร้าได้ และขณะที่เด็กตอบสนองสิ่งเร้าเด็กจะรับรู้สิ่งต่างๆเข้ามาในสมอง
  1. บทบาทของการเล่น คือ การระบายอารมณ์
  2. การเล่นช่วยให้เข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม
  3. การเล่นเป็นการเรียนรู้ทางสังคม
ประโยชน์ของการเล่น
ซูซาน ไอแซค ได้ศึกษาวิจัยผลของการเล่นที่ก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งกับเด็กปฐมวัย ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
  1. การเล่นทำให้เกิดการเรียนรู้
  2. การเล่นช่วงส่งเสริมความสามารถทางคิดและสติปัญญา
  3. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางสังคม
  4. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางอารมณ์
  5. การเล่นช่วยส่งเสริมพัฒนาการทางร่างกาย
ควรจัดเลือกสรรของเล่นให้ถูกต้องเหมาะสมกับผู้เล่นและของเล่นต้องช่วยส่งเสริมพัฒนาการด้วย

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การเลือกสื่อให้ถูกต้องมีความสำคัญต่อการส่งเสริมพัฒนาการของเด็ก และต้องคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสำคัญ

การประเมินผล

ตนเอง : ตั้งใจจดตามที่อาจารย์สอน มีคุยกับเพื่อนบ้างบางครั้ง
เพื่อน : บางคนตั้งใจฟัง บางคนก็นั่งหลับ
อาจารย์ : อธิบายเนื้อหาอย่างชัดเจน



บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ.2560

ความรู้ที่ได้รับ

สื่อการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย

ความหมายของสื่อ

       สื่อ หมายถึง สิ่งต่างๆที่เป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ให้กับเด็กได้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุตามจุดประสงค์ที่ได้ตั้งไว้

ความสำคัญของสื่อ

       เป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมให้เด็กกล้าแสดงออก และเป็นสิ่งเร้าให้เด็กเกิดความสนใจ เด็กจะได้ประสบการณ์ตรงทำให้จดจำได้นาน รวมทั้งยังเกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินอีกด้วย

ประเภทของสื่อการเรียนสำหรับเด็กปฐมวัย

       ดร.ชัยวงศ์ พรหมวงศ์ แบ่งสื่อออกเป็น 3 ประเภท
1. สื่อการสอนประเภทวัสดุ
         - เป็นวัสดุสิ้นเปลือง เช่น ชอล์ก ฟิล์ม เป็นต้น
2. สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์
         - สิ่งช่วยสอนที่เป็นเครื่องมือ เช่น เครื่องเสียง กระดานดำ เป็นต้น
3. สื่อการสอนประเภทวิธีการหรือกระบวนการ
         - การทดลอง เกม หรอกิจกรรมที่ครูจัดขึ้นมาให้เด็กมีส่วนร่มในการปฏิบัติ

        การใช้สื่อให้เหมาะสมกับเด็กปฐมวัยและมีประสิทธิภาพจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับจุดมุ่งหมายและเนื้อหาสาระของการสอน สิ่งสำคัญคือต้องเหมาะกับลักษณะและคามสามารถหรือพัฒนาการด้านต่างๆของเด็กปฐมวัย - ลักษณะทางกาย ควรเป็นสื่อที่ช่วยส่งเสริมและพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อให้แข็งแรงขึ้น
                         - ลักษณะทางอารมณ์ เด็กปฐมวัยมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย ควรหาสื่อที่เป็นรูปภาพหรือนิทาน
                         - ลักษณะทางสังคม ควรใช้สื่อที่ส่งเสริมให้เด็กได้อยู่ร่วมกัน
                         - ลักษณะทางสติปัญญา ครูควรใช้สื่อที่เป็นรูปธรรมชัดเจน กระตุ้นให้เด็กเกิดจินตนาการ และไม่ควรที่จะปิดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของเด็ก

ความหมายและคามสำคัญการเล่นของเด็กปฐมวัย

✫ เด็กแรกเกิด - 1 ขวบ >> สื่อต้องมีขนาดไม่ใหญ่และมีน้ำหนักไม่มาก เช่น โมบาย
✫ 1 ขวบ - 2 ขวบ >> เด็กวัยนี้ควรได้รับการดูแลจากผู้ใหญ่อย่างใกล้ชิด สื่อที่เหมาะสม เช่น หนังสือที่หยิบจับได้
✫ 2 ขวบ - 3 ขวบ >> เด็กจะเริ่มสนใจเล่นกับผู้อื่น ต้องการค้นพบสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ
✫ 3 ขวบ - 4 ขวบ >> เป็นตัวของตัวเองมากขึ้น การได้ทำกิจกรรมต่างๆทำให้เด็กได้มองความสามารถของตนเองและเกิดความภาคภูมิใจ
✫ 4 ขวบ - 5 ขวบ >> เข้าใจภาษามากขึ้น สามารถช่วยเหลือตนเองได้
✫ 5 ขวบ - 6 ขวบ >> ชอบเล่นเลียนแบบชีวิตของผู้ใหญ่ และชอบเล่นแบบมีกฎเกณฑ์


                                        


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ โมบายประดิษฐ์จากวัสดุเหลือใช้


การเล่นของเด็กปฐมวัย

1. ความสำคัญและคุณค่าของการเล่น
             - การเล่นเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโต พัฒนาด้านร่างกายและสังคม ได้เล่นร่วมกับผู้อื่น ฝึกฝนการรู้จักกฎกติกา และฝึกฝนการใช้ภาษาอีกด้วย
2. คุณลักษณะของสื่อสร้างสรรค์และการเล่น
             - สอดคล้องกับหลักสูตร
             - เน้นให้เด็กได้ใช้สื่อในการเล่นร่วมกัน เพื่อพัฒนาด้านสังคม
             - เหมาะสมกับวัย ความสามารถและความสนใจของเด็ก
3.ประเภทของสื่อสร้างสรรคฺและเครื่องเล่น

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ บล็อกไม้สำหรับเด็ก     ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หนังสือภาพนิทาน ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ของเล่นบีบ

4.ประโยชน์ของการเล่น - เด็กเกิดพัฒนาการในด้านต่างๆ
5. วิธีการส่งเสริมการเล่นของเด็กปฐมวัย
         - จัดหาสถานที่และอุปกรณ์ให้เหมาะสม
         - ให้เด็กได้เล่นอย่างอิสระ

การใช้สื่อสร้างสรรค์ต้องให้เหมาะสำหรับเด็กคือต้องคำนึงถึงความสนใจและพัฒนาการของเด็ก จะต้องเน้นเด็กเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ และให้เด็กได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองให้มากที่สุด

การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

การเลือสื่อให้เหมาะสมกับเด็กจำเป็นต้องคำนึงถึงความเหมาะสมกับวัย ความสนใจและพัฒนาการของเด็กให้มีความสอดคล้องกับพัฒนาการในแต่ละด้าน และครูต้องเป็นผู้สนับสนุนให้เด็กได้เรียนรู้ได้ด้วยตนเองให้เกิดประโยชน์มากทีุ่ด

การประเมินผล

ตนเอง : ตั้งใจจดตามที่อาจารย์อธิบาย ถึงแม้หลังๆจะรู้สึกเรียนไม่รู้เรื่องแล้วก็ตาม
เพื่อน : เพื่อนบางคนง่วงและเผลอหลับ แต่บางคนก็ตั้งใจเรียนเป็นอย่างดี
อาจารย์ : อาจารย์อธิบายได้อย่างละเอียด มีการยกตัวอย่างทำให้เกิดความเข้าใจได้ง่าย




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 17 วันพฤหัสบดีที่ 11  พฤษภาคม พ.ศ.2560 ความรู้ที่ได้รับ ในวันนี้ได้นำสื่อที่ได้จัดทำขึ้นมาตลอดเทอมนำไปจัด...